December 04, 2020
พี่น้องเกษตรกรครับ ในการนำเอาแผงโซล่าเซลล์ ไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน จะแบ่งลักษณะการใช้งานหลักๆ ออกเป็น 3 ระบบ ด้วยกัน ดังต่อไปนี้ คือ
1.ระบบ Off Grid ( ออฟกริด )
ระบบออฟกริด คือ การนำเอาแผงโซล่าเซลล์ ไปใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ( หมายเหตุ ระบบนี้จะไม่มีการเชื่อมต่อ กับสายส่งไฟของการไฟฟ้าเลย ดังนั้นระบบออฟกริดนี้ พี่น้องเกษตรกรจึงสามารถใช้ไฟได้อย่างเสรี โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าเลย ) ตัวอย่างการใช้งานจริง โซล่าเซลล์แบบระบบออฟกริด คือ
ระบบออนกริด คือ การนำเอาแผงโซล่าเซลล์ ไปใช้งานในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึง แต่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าลง ใช้ไฟได้เฉพาะในตอนกลางวัน ( หมายเหตุ ระบบนี้จะต้องมีการเชื่อมต่อ กับสายส่งไฟของการไฟฟ้า ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรจึงไม่สามารถใช้ไฟได้อย่างเสรี ผู้ใช้ไฟจะต้องทำการขออนุญาตการเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้าเสียก่อน ) ตัวอย่างการใช้งานจริง โซล่าเซลล์แบบระบบออนกริด คือ
ระบบไฮบริด คือ การนำเอาแผงโซล่าเซลล์ ไปใช้งานในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึง แต่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าลง ใช้ไฟได้ทั้งในตอนกลางวัน และตอนกลางคืน มีแบตเตอรี่สำรองไฟ ( หมายเหตุ ระบบนี้จะต้องมีการเชื่อมต่อ กับสายส่งไฟของการไฟฟ้า ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรจึงไม่สามารถใช้ไฟได้อย่างเสรี ผู้ใช้ไฟจะต้องทำการขออนุญาตการเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้าเสียก่อน ) ตัวอย่างการใช้งานจริง โซล่าเซลล์แบบระบบไฮบริด คือ
พี่น้องเกษตรกรครับ ในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นระบบเล็กๆ ไปจนถึงระบบใหญ่ จะมีสูตรหากำลังไฟฟ้าและหาจำนวนแผงโซล่าเซลล์ตามสมการ ดังต่อไปนี้
1.การต่ออนุกรม | นิยมใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีค่าโวลต์สูงกว่าแผงโซล่าเซลล์ ยกตัวอย่างเช่น ปั๊มหอยโข่ง โซล่าเซลล์ ขนาด 2นิ้ว 2แรงม้า มีค่าวัตต์ที่ 1,500W และค่าโวลต์ที่ 150V-200V แต่ทว่าแผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ 1 แผง มีค่าวัตต์เพียงแค่ 380W / 40.15V จะเห็นได้ว่าทั้งค่าวัตต์ และค่าโวลต์ ไม่เพียงพอกับที่ปั๊มน้ำต้องการ ในกรณีเวลาต่อแผง จึงนำแผงโซล่าเซลล์ขนาด 380W/40.15 V มาต่อกันแบบอนุกรม เพราะจะได้ค่าวัตต์เพิ่มขึ้นเป็น 380W x 4 แผง = 1,520W และการต่ออนุกรมได้ค่าโวลต์เพิ่มขึ้น คือ 40.15V X 4 แผง = 160.6V ซึ่งทำให้ทั้งค่าวัตต์และค่าโวลต์ ได้กำลังตามสเปคที่ปั๊มน้ำต้องการนั่นเองครับ
2.การต่อขนาน | นิยมใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีค่าโวลต์ต่ำกว่าแผงโซล่าเซลล์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปั่นน้ำผลไม้ DC 12V มีค่าวัตต์ที่ 300W และค่าโวลต์ที่ 12V แต่ทว่าแผงโซล่าเซลล์ขนาดกลาง 1 แผง มีค่าวัตต์เพียงแค่ 150W / 18V จะเห็นได้ว่ามีเฉพาะค่าวัตต์เท่านั้นที่ไม่เพียงพอ แต่ค่าโวลต์แผงสูงกว่าเครื่องปั่นน้ำผลไม้เล็กน้อย ในกรณีเวลาต่อแผง จึงนำแผงโซล่าเซลล์ขนาด 380W/40.15 V มาต่อกันแบบขนานกัน เพราะจะได้ค่าวัตต์เพิ่มขึ้นเป็น 150W x 2 แผง = 300W และการต่อขนานได้ค่าโวลต์เท่าเดิม คือ 18V ซึ่งทำให้ทั้งค่าวัตต์และค่าโวลต์ ได้กำลังตามสเปคที่เครื่องปั่นน้ำผลไม้ต้องการนั่นเองครับ ( หมายเหตุ แต่ถ้ากรณีนี้ ต่อแผงผิด! โดยทำการต่อแผงแบบอนุกรม ก็จะได้ค่าวัตต์ที่ 150W x2 = 300W และค่าโวลต์ ที่ 18V x 2 = 36V ซึ่งเครื่องปั่นน้ำผลไม้ต้องการค่าโวลต์เพียงแค่ 12V หรือมากกว่าได้เล็กน้อย แต่ในกรณีที่ต่อแผงผิดวิธีนี้ ทำให้ได้ค่าโวลต์ที่สูงเกินไป ก็จะส่งผลให้เครื่องปั่นน้ำผลไม้มอเตอร์ไหม้ และเสียหายได้ )
__รถกระบะตอนเดียว จะสามารถใส่แผงโซล่าเซลล์ได้ พอดี ไม่ล้นมาที่ฝาท้าย __
__รถกระบะแค็ป และกระบะสี่ประตู้ แผงจะยาวล้นฝาท้ายออกมา ให้เตรียมเชือกไปผูกเพื่อยึดให้แน่นด้วย __
พี่น้องเกษตรกรเราไปดู แผนผังและแบบแปลน ตัวอย่างการติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ ด้วยตัวเองกันเลยครับ
โครงขาตั้งแผง ทำจากเหล็กกล่อง หรือ ทำจากไม้ก็ได้ และขาตั้งของแผงโซล่าเซลล์ จะเป็นเหล็ก หรือปูน หรือเป็นเสาไม้ก็ได้ แล้วแต่สะดวกครับ พี่น้องเกษตรกร ข้อคิดคือ พยายามทำให้แข็งแรงและมีอายุการใช้งานนานๆ อย่าลืมว่าแผงโซล่าเซลล์ มีอายุใช้งานยาวนาน 20-25 ปีขึ้นไป พี่น้องเกษตรกรจะได้ไม่ต้องรื้อโครงสร้างมาแก้งานในวันข้างหน้าครับ
เวลาตั้งขาตั้งแผง เทคนิคก็คือ ให้ขาตั้งแผงคู่หน้า เตี้ยกว่า ขาตั้งคู่หลัง โดยทำมุมองศารับแสงแดด หันหน้าแผงไปทางทิศใต้ที่ 15 องศาครับ
วิธียึดโครงขาตั้งเข้ากับเฟลมของแผงโซล่าเซลล์ ถ้าสังเกตุให้ดี พี่น้องเกษตรกรจะเห็นว่าที่เฟลมของแผงโซล่าเซลล์ จะมีการเจาะรูมาให้แล้วจากโรงงาน ดังนั้นเทคนิคก็คือ ให้ทำโครงจุดยึดน็อตให้ตรงกับรูของเฟรมแผงโซล่าเซลล์ ที่เจาะมาให้จากโรงงานแล้วนั่นเอง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปเจาะแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งอาจทำให้แผงเสียหายได้
เมื่อยึดแผงโซล่าเซลล์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นไปตามภาพด้านล่างนี้นั่นเองครับ
เทคนิค คือ ขาตั้งแผง ควรจะต้องตั้งเอียง 15 องศา และหันหน้าแผงรับแสงแดด ทางด้านทิศใต้ จะทำให้แผงโซล่าเซลล์ ได้รับแสงแดดได้ตลอดทั้งวัน
พี่น้องเกษตรกรครับ ในการที่พี่น้องจะติดตั้งระบบปั้มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ด้วยตัวเอง นั้นง่ายมากครับ ให้พี่น้องเกษตรกรสังเกตุที่แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 1 แผง จะมีสายไฟ 2 เส้นนั่นก็คือ สายไฟขั้วบวก และ สายไฟขั้วลบ
ซึ่งจะมาในรูปของปลั๊ก MC4 ตัวผู้ตัวเมีย พี่น้องเกษตรกรก็ทำหน้าที่เอาปลั๊กตัวผู้ มาเสียบเข้ากับปลั๊กตัวเมียตามภาพ แล้วก็นำเอาปลั๊กที่เหลือ มาเสียบเข้ากับปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ แล้วก็กดเปิดปั้มเพียงแค่นี้ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ก็จะทำงานได้เองอัตโนมัติแล้วครับ
พี่น้องเกษตรกรครับ ในการที่พี่น้องจะติดตั้งระบบปั้มซับเมอร์สโซล่าเซลล์ด้วยตัวเอง นั้นง่ายมากครับ ให้พี่น้องเกษตรกรสังเกตุที่แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 1 แผง จะมีสายไฟ 2 เส้นนั่นก็คือ สายไฟขั้วบวก และ สายไฟขั้วลบ
ซึ่งจะมาในรูปของปลั๊ก MC4 ตัวผู้ตัวเมีย พี่น้องเกษตรกรก็ทำหน้าที่เอาปลั๊กตัวผู้ มาเสียบเข้ากับปลั๊กตัวเมียตามภาพ แล้วก็นำเอาปลั๊กที่เหลือ มาเสียบเข้ากับกล่องคอนโทรลของปั๊มซับเมอร์สโซล่าเซลล์
ส่วนสายไฟจากปั้มซับเมอร์ส จะมี 3 สาย คือ WVU พี่น้องก็เพียงแค่เอามาใส่ในกล่องคอนโทรลปั้มให้ตรงกัน แล้วก็กดเปิดปั้มเพียงแค่นี้ปั้มน้ำก็ทำงานเองอัตโนมัติแล้ว
January 18, 2021
December 22, 2020
December 22, 2020
COPYRIGHT © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
โดย AEC brand ศูนย์การเรียนรู้ โซล่าเซลล์ เพื่อการเกษตร